วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หินและแร่

                               ประเภทของหิน


  หินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเปลือกโลก หินมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีสมบัติ แตกต่างกันและมีประโยชน์ใช้สอยต่างกัน
  นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งหินออกเป็น ลักษณะ
  1. 
หินอัคนี คือ หินที่เกิดจากการหลอมเหลวภายในโลก และไหลออกมาตาม รอยแยกของเปลือกโลก หรือเมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิด 
  
เมื่อเย็นลงจะเรียกหินเหล่านี้ว่า “ หินอัคนี ”ขณะหินยังหลอมเหลวอยู่ด้านในโลกเราเรียกว่า “ แมกมา ” เมื่อแมกมาไหลออกมาเมื่อ
  
ภูเขาไฟระเบิดจะเรียกว่า “ ลาวา ” เมื่อลาวาเย็นลงจะเรียกหินเหล่านี้ว่า “ หินอัคนี ”หินอัคนี
  มีความแข็งมากกว่าหินชนิดอื่น หินอัคนีแบบออกเป็นหลายชนิดได้แก่
  1.1.
หินแกรนิต เนื้อหินเป็นผลึกขนาดใหญ่ มีความแวววาว มีความแข็งทนทานมาก จึงนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างอาคารต่าง ๆ
  1.2 
หินบะซอลต์ เนื้อหินจะมีสีคล้ำจนถึงดำ เนื้อหินแน่นละเอียด ไม่มีความแวววาว แต่มีรูพรุน มีความแข็งและทนทาน
  ต่อการสึกกร่อน นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง
  1.3 
หินพัมมิซ เนื้อหินมีความแข็งและเนื้อสาก มีรูพรุนจำนวนมาก มีน้ำหนักเบาทำให้สามารถลอยน้ำได้ นิยมใช้ทำวัสดุขัดถู
  1.4 
หินออบซิเดียน เนื้อหินมีลักษณะเหมือนแก้ว มีสีดำ และผิวเรียบเป็นมัน
  2. 
หินชั้น / หินตะกอน คือ หินที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์ ตะกอนต่าง ๆ หรือเกิดจากการสึกกร่อนผุพังของ
  
หินอื่น ๆ เป็นเวลานานบางชนิดเกิดจากการที่ตะกอนในน้ำต่าง ๆ ถูกกระแสน้ำพัดพามารวมกัน หรือโดนแรงอัดนาน ๆ จนแน่น
  
จนกลายเป็นหิน บางครั้งยังพบร่องรอยของซากพืชและซากสัตว์โบราณฝังอยู่ ซึ่ง เรียกว่า ฟอสซิล หรือ ซากดึกดำบรรพ์ หิน
  
ชนิดนี้จึงมีลักษณะเป็นตะกอนหรือเป็นชั้น ๆ เช่น หินทราย หินปูน หินดินดาน หินกรวด เป็นต้น
  2.1 
หินทราย มีอยู่ทั่วไปประกอบด้วยทรายที่สึกกร่อนจากหินแกรนิตเกาะติดกันแน่น มีหลายสี เช่น เหลือง น้ำตาล แดง ขาว เทา 
  
นิยมใช้ทำหินลับมีด และใช้ตกแต่งบ้านในงานก่อสร้าง


สมุนไพรไทย


                                                            สมุนไพรไทย
อาหารที่ผู้บริโภคเห็นความสำคัญน้อยที่สุดอย่าง ผัก นั้น กลับกลายเป็นอาหารที่มีคุณค่ามากชนิดหนึ่ง เพราะมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น เกลือแร่ วิตามิน อยู่เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญคือ สารบางอย่างที่มีคุณค่าต่อร่างกาย จะมีเฉพาะใน ผัก เท่านั้น เห็นที่ว่าจะไม่ลิ้มชิมรส ผัก ก็คงจะไม่ดีต่อสุขภาพนัก
นอกจากใน ผัก จะมีคุณค่าต่อร่างกายแล้ว ผัก ยังช่วยรักษาโรคได้อย่างไม่น่าเชื่อ บางทียาที่หมอให้ ยังไม่อาจสู้ทานพืช ผัก เหล่านี้เลย เรามาดูกันว่ามี ผัก อะไรที่ช่วยรักษาโรคได้อย่างน่ามหัศจรรย์ บ้าง
iStock_000048557098_Small
1. ขี้เหล็ก
สำหรับคนสมัยใหม่ อาจจะไม่ชอบทานสักเท่าไรนัก แต่ถ้าเป็นคนสมัยก่อน รุ่นคุณพ่อคุณแม่เราขึ้นไปแล้ว บอกเลยว่าอาหารที่ทำด้วย ผัก ขี้เหล็กจัดเป็นอาหารรสเลิศถูกปากมากเลยทีเดียว
และนอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ใบขี้เหล็กสามารถรับประทานเป็นยาชั้นดี เพราะใบขี้เหล็กมีทั้งวิตามินเอ วิตามินซี เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 และไนอาซิน
สรรพคุณทางยาของใบขี้เหล็กมีสารชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ต่อประสาททำให้นอนหลับดี แก้ท้องผูกได้ดี และบำรุงร่างกายให้กระชุ่มกระชวยได้

ประโยชน์ของอาหารแต่ละมื้อ

                                 ประโยชน์ของอาหารแต่ละมื้อ
อาหารเช้า มีให้Œเลือกดังนี้
- ขนมปังโฮลวีต 2 แผ่นทาแยมหรือมาการีนไขมันต่ำ 1 ช้อนชา
- แผ่นซีเรียลไฮไฟเบอร์ 1 ถ้วยนมสดไขมัน 0% กล้วยน้ำว้า 1 ผล
- แซนด์วิชทูน่า 1 คู่ นมถั่วเหลืองไขมัน0%
- ข้าวซ้อมมือ 2 ทัพพีผัดบรอกโคลีกุ้งสด
อาหารกลางวัน มีให้Œเลือกดังนี้
- ข้าวซ้อมมือ 1 ทัพพี ผัดกะเพราไก่ ใส่ถั่วฝักยาว ไข่ต้ม
- ข้าวซ้อมมือ 1 ทัพพี ต้มยำปลาใส่เห็ดน้ำใส
- สปาเกตตีซอสไก่ ใส่ผักโขม
- ข้าวคลุกน้ำพริกกุ้งเสียบ ไข่ต้ม ผัดผักกวางตุ้ง
อาหารเย็น มีให้เลือกดังนี้
- ยำวุ้นเส้นกุ้งสด
- ต้มจับฉ่ายใส่เต้าหู้
- น้ำพริกปลาย่าง ผักต้ม และไข่ต้ม
- สลัดปูอัดน้ำสลัดโชยุ
- สลัดผลไม้ใส่โยเกิร์ต โรยหน้าด้วยเม็ดแมงลัก

อันตรายใกล้ตัว

                                                                       อันตรายใกล้ตัว

                 เปิดสถิติข้อมูลนำเข้าสารเคมีอันตรายเพื่ออุตสาหกรรม นำเข้าไทยแค่ท่าเรือแหลมฉบังที่เดียวสูงถึง 1.7 ล้านตันต่อปี อย.ชี้ผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนเคร่งครัด แต่ยอมรับยังมีบางส่วนหลุดรอดนำไปผลิตสินค้าในชีวิตประจำวัน เตือนผู้ใช้หาความรู้วิธีใช้ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อย่าง สบู่เหลว ลูกเหม็น น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ สะสมในร่างกายมากอาจทำให้ตายได้  
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันสารเคมีอันตรายได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารอันตรายที่ชัดเจนอย่าง สารเคมีในยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นและเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ ไปจนถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น น้ำยาลบคำผิด  สบู่เหลว แชมพู น้ำยาล้างจาน  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนมีส่วนผสมของสารเคมีตัวเดียวกันทั้งสิ้น  สามารถสะสมในร่างกายระยะยาว และอาจจะกลายเป็นสารก่อมะเร็งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรงในที่สุด  
อย่างไรก็ตามแม้จะมีความพยายามในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายที่เกิดขึ้นได้หากใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันแบบไม่ถูกวิธี แต่ก็ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถสร้างความตระหนักให้กับประชาชนมากนัก เพราะประโยชน์ของพวกมันที่สร้างความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันจนทำให้หลายคนลืมนึกถึงผลเสียที่จะตามมาจากการใช้ประโยชน์อย่างผิดวิธีนั่นเอง

วิทยาศาสตร์น่ารู้

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน



                                                                                                                                                   
                             วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้ 
    1. วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
    2. วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
    3. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
    4. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
     5. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
     6. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
    7. วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
ความ เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ อยู่เสมอ เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต