วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หินและแร่

                               ประเภทของหิน


  หินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเปลือกโลก หินมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีสมบัติ แตกต่างกันและมีประโยชน์ใช้สอยต่างกัน
  นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งหินออกเป็น ลักษณะ
  1. 
หินอัคนี คือ หินที่เกิดจากการหลอมเหลวภายในโลก และไหลออกมาตาม รอยแยกของเปลือกโลก หรือเมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิด 
  
เมื่อเย็นลงจะเรียกหินเหล่านี้ว่า “ หินอัคนี ”ขณะหินยังหลอมเหลวอยู่ด้านในโลกเราเรียกว่า “ แมกมา ” เมื่อแมกมาไหลออกมาเมื่อ
  
ภูเขาไฟระเบิดจะเรียกว่า “ ลาวา ” เมื่อลาวาเย็นลงจะเรียกหินเหล่านี้ว่า “ หินอัคนี ”หินอัคนี
  มีความแข็งมากกว่าหินชนิดอื่น หินอัคนีแบบออกเป็นหลายชนิดได้แก่
  1.1.
หินแกรนิต เนื้อหินเป็นผลึกขนาดใหญ่ มีความแวววาว มีความแข็งทนทานมาก จึงนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างอาคารต่าง ๆ
  1.2 
หินบะซอลต์ เนื้อหินจะมีสีคล้ำจนถึงดำ เนื้อหินแน่นละเอียด ไม่มีความแวววาว แต่มีรูพรุน มีความแข็งและทนทาน
  ต่อการสึกกร่อน นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง
  1.3 
หินพัมมิซ เนื้อหินมีความแข็งและเนื้อสาก มีรูพรุนจำนวนมาก มีน้ำหนักเบาทำให้สามารถลอยน้ำได้ นิยมใช้ทำวัสดุขัดถู
  1.4 
หินออบซิเดียน เนื้อหินมีลักษณะเหมือนแก้ว มีสีดำ และผิวเรียบเป็นมัน
  2. 
หินชั้น / หินตะกอน คือ หินที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์ ตะกอนต่าง ๆ หรือเกิดจากการสึกกร่อนผุพังของ
  
หินอื่น ๆ เป็นเวลานานบางชนิดเกิดจากการที่ตะกอนในน้ำต่าง ๆ ถูกกระแสน้ำพัดพามารวมกัน หรือโดนแรงอัดนาน ๆ จนแน่น
  
จนกลายเป็นหิน บางครั้งยังพบร่องรอยของซากพืชและซากสัตว์โบราณฝังอยู่ ซึ่ง เรียกว่า ฟอสซิล หรือ ซากดึกดำบรรพ์ หิน
  
ชนิดนี้จึงมีลักษณะเป็นตะกอนหรือเป็นชั้น ๆ เช่น หินทราย หินปูน หินดินดาน หินกรวด เป็นต้น
  2.1 
หินทราย มีอยู่ทั่วไปประกอบด้วยทรายที่สึกกร่อนจากหินแกรนิตเกาะติดกันแน่น มีหลายสี เช่น เหลือง น้ำตาล แดง ขาว เทา 
  
นิยมใช้ทำหินลับมีด และใช้ตกแต่งบ้านในงานก่อสร้าง


สมุนไพรไทย


                                                            สมุนไพรไทย
อาหารที่ผู้บริโภคเห็นความสำคัญน้อยที่สุดอย่าง ผัก นั้น กลับกลายเป็นอาหารที่มีคุณค่ามากชนิดหนึ่ง เพราะมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น เกลือแร่ วิตามิน อยู่เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญคือ สารบางอย่างที่มีคุณค่าต่อร่างกาย จะมีเฉพาะใน ผัก เท่านั้น เห็นที่ว่าจะไม่ลิ้มชิมรส ผัก ก็คงจะไม่ดีต่อสุขภาพนัก
นอกจากใน ผัก จะมีคุณค่าต่อร่างกายแล้ว ผัก ยังช่วยรักษาโรคได้อย่างไม่น่าเชื่อ บางทียาที่หมอให้ ยังไม่อาจสู้ทานพืช ผัก เหล่านี้เลย เรามาดูกันว่ามี ผัก อะไรที่ช่วยรักษาโรคได้อย่างน่ามหัศจรรย์ บ้าง
iStock_000048557098_Small
1. ขี้เหล็ก
สำหรับคนสมัยใหม่ อาจจะไม่ชอบทานสักเท่าไรนัก แต่ถ้าเป็นคนสมัยก่อน รุ่นคุณพ่อคุณแม่เราขึ้นไปแล้ว บอกเลยว่าอาหารที่ทำด้วย ผัก ขี้เหล็กจัดเป็นอาหารรสเลิศถูกปากมากเลยทีเดียว
และนอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ใบขี้เหล็กสามารถรับประทานเป็นยาชั้นดี เพราะใบขี้เหล็กมีทั้งวิตามินเอ วิตามินซี เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 และไนอาซิน
สรรพคุณทางยาของใบขี้เหล็กมีสารชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ต่อประสาททำให้นอนหลับดี แก้ท้องผูกได้ดี และบำรุงร่างกายให้กระชุ่มกระชวยได้

ประโยชน์ของอาหารแต่ละมื้อ

                                 ประโยชน์ของอาหารแต่ละมื้อ
อาหารเช้า มีให้Œเลือกดังนี้
- ขนมปังโฮลวีต 2 แผ่นทาแยมหรือมาการีนไขมันต่ำ 1 ช้อนชา
- แผ่นซีเรียลไฮไฟเบอร์ 1 ถ้วยนมสดไขมัน 0% กล้วยน้ำว้า 1 ผล
- แซนด์วิชทูน่า 1 คู่ นมถั่วเหลืองไขมัน0%
- ข้าวซ้อมมือ 2 ทัพพีผัดบรอกโคลีกุ้งสด
อาหารกลางวัน มีให้Œเลือกดังนี้
- ข้าวซ้อมมือ 1 ทัพพี ผัดกะเพราไก่ ใส่ถั่วฝักยาว ไข่ต้ม
- ข้าวซ้อมมือ 1 ทัพพี ต้มยำปลาใส่เห็ดน้ำใส
- สปาเกตตีซอสไก่ ใส่ผักโขม
- ข้าวคลุกน้ำพริกกุ้งเสียบ ไข่ต้ม ผัดผักกวางตุ้ง
อาหารเย็น มีให้เลือกดังนี้
- ยำวุ้นเส้นกุ้งสด
- ต้มจับฉ่ายใส่เต้าหู้
- น้ำพริกปลาย่าง ผักต้ม และไข่ต้ม
- สลัดปูอัดน้ำสลัดโชยุ
- สลัดผลไม้ใส่โยเกิร์ต โรยหน้าด้วยเม็ดแมงลัก

อันตรายใกล้ตัว

                                                                       อันตรายใกล้ตัว

                 เปิดสถิติข้อมูลนำเข้าสารเคมีอันตรายเพื่ออุตสาหกรรม นำเข้าไทยแค่ท่าเรือแหลมฉบังที่เดียวสูงถึง 1.7 ล้านตันต่อปี อย.ชี้ผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนเคร่งครัด แต่ยอมรับยังมีบางส่วนหลุดรอดนำไปผลิตสินค้าในชีวิตประจำวัน เตือนผู้ใช้หาความรู้วิธีใช้ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อย่าง สบู่เหลว ลูกเหม็น น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ สะสมในร่างกายมากอาจทำให้ตายได้  
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันสารเคมีอันตรายได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารอันตรายที่ชัดเจนอย่าง สารเคมีในยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นและเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ ไปจนถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น น้ำยาลบคำผิด  สบู่เหลว แชมพู น้ำยาล้างจาน  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนมีส่วนผสมของสารเคมีตัวเดียวกันทั้งสิ้น  สามารถสะสมในร่างกายระยะยาว และอาจจะกลายเป็นสารก่อมะเร็งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรงในที่สุด  
อย่างไรก็ตามแม้จะมีความพยายามในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายที่เกิดขึ้นได้หากใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันแบบไม่ถูกวิธี แต่ก็ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถสร้างความตระหนักให้กับประชาชนมากนัก เพราะประโยชน์ของพวกมันที่สร้างความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันจนทำให้หลายคนลืมนึกถึงผลเสียที่จะตามมาจากการใช้ประโยชน์อย่างผิดวิธีนั่นเอง

วิทยาศาสตร์น่ารู้

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน



                                                                                                                                                   
                             วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้ 
    1. วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
    2. วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
    3. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
    4. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
     5. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
     6. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
    7. วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
ความ เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ อยู่เสมอ เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต 

เสียงและการได้ยิน



เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร
เสียง  เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น
เสียงเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียง มีการสั่นสะเทือน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบกล่าวคือโมเลกุลของอากาศเหล่านั้นจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียงไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดออกไป จะเกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ไปให้กับโมเลกุลของอากาศ ที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันจะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลของอากาศที่เคลื่อนที่มาชนจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฎิกิริยา และโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงาน ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปและไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดไป เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ จนเคลื่อนที่ไปถึงหู เกิดการได้ยินขึ้น
ปรากฏการณ์นี้จะเกิดสลับกันไปมาได้เมื่อสื่อกลางหรือตัวกลางคืออากาศซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่น การเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศจะเกิดเป็นคลื่นเสียง
แหล่งกำเนิดเสียง
แหล่งกำเนิดเสียงคือ วัตถุที่ทำให้เกิดเสียง เมื่อวัตถุนั้นเกิดการสั่นสะเทือน แหล่งกำเนิดเสียงแต่ละชนิดจะทำให้กำเนิดเสียงที่มีความแตกต่างกันไประดับความดังของเสียงมีหน่วยวัดเป็น เดซิเบล (db)
การเคลื่อนที่ของเสียง
การเดินทางของเสียง ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เสียงมาถึงหูของเราโดยมีอากาศเป็นตัวกลาง แหล่งกำเนิดเสียงจะทำให้อากาศรอบๆสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนจะกระจายออกไปรอบทุกทิศทาง เมื่อคลื่นเดินทางมาถึงหูของเรา เราจะรับรู้เสียงต่างๆ
เสียงดังเสียงค่อย
คือ สมบัติของเสียงที่เรียกว่า ความดังของเสียง
ความดังของเสียงคือ ปริมาตรของพลังงานเสียงที่มาถึงหูของเรา
            ปัจจัยที่มีผลทำให้วัตถุเกิดเสียงดังหรือเสียงค่อย ได้แก่
1          ระยะทางจากแหล่งกำเนิดเสียง ถึง หูผู้ฟัง ถ้าระยะทางใกล้ๆ จะได้ยินเสียงดังมากและจะได้ยินเสียงค่อยๆ ลงไปเมื่อระยะห่างออกไปเรื่อยๆตามลำดับ
           ความแรงในการสั่นสะเทือนของวัตถุแหล่งกำเนิดเสียง ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นด้วยความรุนแรง จะทำให้เกิดเสียงดัง แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นเบาๆ ก็จะทำให้เกิดเสียงสั่นค่อยลง ตามลำดับ
           ชนิดของตัวกลาง ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกลางที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านไป ถ้าคลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปในน้ำจะมีความดังของเสียงมากกว่าคลื่นเสียงที่เคลื่อนที่ไปในอากาศ
          ขนาดและรูปร่างของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงสั่นสะเทือน เช่น กระดิ่งจักรยาน ทำให้เกิดเสียงดังและได้ยินในระยะทางหลายร้อยฟุต แต่ระฒังก็มีเสียงดังได้ไกลไปหลายๆกิโลเมตร เป็นต้น
เสียงสูงเสียงต่ำ
เสียงสูงเสียงต่ำ เรียกว่า ระดับเสียง  ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงมีความเร็วในการสั่นสะเทือน (มีความถี่สูง) จะทำให้เกิดเสียงสูง  และถ้า แหล่งกำเนิดเสียงมีความเร็วในการสั่นสะเทือนน้อย หรือเบา (มีความถี่ต่ำ) จะทำให้เกิดเสียงต่ำ หรือเสียงทุ้ม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเสียงสูงต่ำ  เสียงสูงต่ำขึ้นอยู่กับความถี่ในการสั่นสะเทือนของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง แหล่งกำเนิดเสียงสั่นสะเทือนด้วยความถี่ต่ำ จะเกิดเสียงต่ำ  แต่ถ้าสั่นสะเทือนด้วยความถี่สูง เสียงก็จะสูง  โดยระดับเสียงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วย
1. ขนาดของวัตถุกำเนิดเสียง
2. ความยาวของวัตถุกำเนิดเสียง
3. ความตึงของวัตถุกำเนิดเสียง
จะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ดังนี้
       วัตถุที่ต้นกำเนิดเสียง  มีขนาดเล็กจะสั่นสะเทือนเร็วทำให้เกิดเสียงสูง แต่   ถ้าวัตถุที่ต้นกำเนิดเสียง มีขนาดใหญ่จะสั่นสะเทือนช้าทำให้เกิดเสียงต่ำ
        ถ้าวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดเสียงมีขนาดยาวน้อยหรือสั้นจะสั่นสะเทือนเร็วทำให้เกิดเสียงสูง แต่ ถ้าวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดเสียง มีขนาดความยาวมากจะสั่นสะเทือนช้าทำให้เกิดเสียงต่ำ
          ถ้าวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดเสียงมีความตึงมากจะสั่นสะเทือนเร็วทำให้เกิดเสียงสูง แต่ ถ้าวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดเสียงมีความตึงน้อยหรือหย่อนจะสั่นสะเทือนช้าทำให้เกิดเสียงต่ำ



ที่มา
https://amfinewell.wordpress.com/2013/01/22/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%99-3/

เรื่องร้ายที่ต้องรู้

                                                                     เรื่องร้ายที่ต้องรู้
เมื่อเอ่ยคำว่า  ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) ผู้หญิงหลาย ๆ คนคงจะรู้จักโรคนี้ดี  แต่ก็คงจะมีอีกหลาย ๆ ยังไม่รู้จัก  ไม่เคยได้ยิน  ฟังชื่อแปลกดีคงจะเป็นโรคที่ดูไม่น่าจะมีพิษสงหรือมีความรุนแรงอะไร  แต่ถ้าใครเป็นโรคนี้แล้วก็คงจะรู้ถึงความร้ายกาจของโรคนี้ดี และสร้างความทรมานให้กับสาว ๆ ที่เป็นโรคนี้ไม่น้อย  ช็อกโกแลตซีสต์  เป็นคำเรียกชื่อโรคที่สูตินรีแพทย์  มักใช้พูดกับคนไข้ที่เป็นโรคนี้ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า  โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)  ซึ่งหมายถึง โรคที่มีภาวะการณ์เจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุ

ระบบต่างๆในร่างกาย

ระบบร่างกายมนุษย์
โครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์
ในการศึกษาทางจิตวิทยา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมานั้นเป็นเพราะระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่านักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้ามาเป็นระยะเวลายาวนานต่างมีความคิดเห็นตรงกันว่าร่างกายมนุษย์ สัตว์ หรือพืชทั้งหลายจะมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนกระทั่งถึงส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุด แต่ละส่วนจะมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน โดยไม่มีส่วนใดที่สามารถทำงานอย่างอิสระยกเว้นเม็ดเลือด โดยประมาณได้ว่า 75 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของร่างกายผู้ใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ส่วนที่เหลือเป็นสารประกอบทางเคมี สารประกอบเหล่านี้รวมตัวกันเป็นเซลล์ หลายร้อยชนิด ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของร่างกาย มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนพื้นโลก โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ 80 – 100 ล้านล้านเซลล์แต่ละชุดจะถูกกำหนดให้มีการเจริญเติบโตและทำหน้าที่เฉพาะ โดยเซลล์ชนิดเดียวกันจะรวมตัวเป็นเนื้อเยื่อ (tissues) เนื้อเยื่อหลาย ๆ ประเภทเมื่อมาทำงานร่วมกัน เรียกว่าอวัยวะ (organ) แต่ละอวัยวะเมื่อทำงานร่วมกันเรียกว่าระบบ (system) อาจแสดงโดยแผนผังต่อไปนี้
ดังนั้น เมื่อเซลล์มารวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อพิเศษ เช่น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก ฯลฯ เนื้อเยื่อเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะและในที่สุดอวัยวะเหล่านี้จะถูกจัดสรรเป็นระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมต่าง ๆ และระบบประสาท เป็นต้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการทำงานที่สัมพันธ์กันเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ การทำงานของระบบภายในร่างกาย อาจจำแนกออกได้เป็น 10 ระบบ ดังนี้
1. ระบบผิวหนัง (Intergumentary System) ทำหน้าที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนัง เช่น ขน ผม เล็บ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน
2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ทำหน้าที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว
3. ระบบโครงกระดูก (Skeletal System) ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย
4. ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System) ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
5. ระบบหายใจ (Respiratory System) ทำหน้าที่รับออกซิเจนจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์จากภายในออกมาขับทิ้งสู่ภายนอกร่างกาย โดยอาศัยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นตัวกลางในการลำเลียงแก๊ส
6. ระบบประสาท (Nervous System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ให้สัมพันธ์กันโดยทำงานร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อนอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับและตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
7. ระบบต่อมต่าง ๆ (glands System) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีและของเหลวโดยทำงานร่วมกับระบบประสาทในการควบคุมปฏิกริยาการเผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย
8. ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
9. ระบบขับถ่าย (Excretory System) ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการให้ออกจากร่างกาย
10. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System) ทำหน้าที่สืบทอด ดำรงและขยายเผ่าพันธุ์ ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อไม่ให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์